วิธีการเล่นหนังตะลุง



ขนบนิยมในการเล่น มี 2 ประเภท คือ 
1. ขนบนิยมในการเล่นเพื่อความบันเทิง
2.ขนบนิยมในการเล่นเพื่อประกอบพิธีกรรม 

ขนบนิยมในการเล่นเพื่อความบันเทิง
           หนังตะลุงทุกคณะมีลำดับขั้นตอนในการเล่นเหมือนกัน คือ ตั้งเครื่องเบิกโรง โหมโรง ออกลิงหัวค่ำ ออกฤาษี ออกรูปฉะ ออกรูปพระอิศวร ออกรูปปรายหน้าบท ออกรูปบอกเรื่อง เกี้ยวจอ ตั้งนามเมือง แสดงเรื่อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
           1.ตั้งเครื่องเบิกโรง เป็นการทำพิธีเอาฤกษ์ขอที่ตั้งโรง ปัดเป่าเสนียดจัญไร และเชิญครูหนังมาคุ้มครองเริ่มพิธีด้วยนายหนังตีกลองนำและลูกคู่บรรเลงเพลงเชิด เรียกว่า ตั้งเครื่อง จากนั้นนายแผง (คนแบกแผงใส่รูปหนัง) แก้แผงเอารูปออกวางให้เป็นระเบียบ นายหนังทำพิธีเบิกโรง โดยนำเครื่องเบิกโรงที่เจ้าภาพจัดให้ คือ ถ้าเป็นงานทั่วไปใช้หมากพลู 9 คำ เทียน 1 เล่ม ถ้าเป็นงานอัปมงคล เพิ่มเสื่อ 1 ผืนหมอน 1 ใบ หม้อน้ำมนต์ 1 ใบ เงินค่าเบิกโรงตามแต่หนังจะกำหนด (3 บาทบ้าง 12 บาทบ้าง) มาวางหน้านายหนังแล้วร้องชุมนุมเทวดา เอารูปฤาษี รูปปรายหน้าบท รูปเจ้าเมือง ปักบนหยวก ร้องเชิญครูหมอหนังให้มาคุ้มครอง ขอที่ตั้งโรงจากพระภูมิและนางธรณี เสกหมาก 3 คำ เพื่อซัดเข้าไปในทับ 1 คำเหน็บตะเกียงหรือดวงไฟที่ให้แสงสว่างในการเล่นหนัง 1 คำ และเหน็บหลังคาโรง 1 คำ เพื่อกันเสนียดจัญไร เสร็จแล้วลูกคู่บรรเลงเพลงโหมโรง
            2.โหมโรง เป็นการบรรเลงดนตรีล้วนๆ เพื่อเรียกคนดูและให้นายหนังได้เตรียมพร้อม สุธิวงศ์ทับ คือ ใช้ทับเป็นตัวยืน เพลงที่บรรเลงมี 12 เพลง ได้แก่ เพลงเดิน เพลงถอยหลังเข้าคลอง เพลงยักษ์ เพลงสามหมู่ เพลงนางออกจากวัง เพลงนางเดินป่า เพลงสรงน้ำ เพลงเจ้าเมืองออกสั่งราชการ เพลงยกพล เพลงชุมพล เพลงยักษ์จับสัตว์ และเพลงกลับวัง ต่อมาหันมานิยมโหมโรงด้วยเพลงปี่ คือใช้ปี่เป็นหลัก เพลงที่บรรเลงสมัยก่อนเป็นเพลงไทยเดิม เริ่มด้วยเพลงพัดชาซึ่งหนังถือว่าเป็นเพลงครูแล้วต่อด้วยเพลงอื่น ๆ เช่น ลาวสมเด็จ เขมรปี่แก้ว เขมรปากท่อ จีนแส ลาวดวงเดือน ชายคลั่ง สุดสงวน นางครวญ สะบัดสะบิ้ง เขมรพวง ชะนีร้องไห้ เป็นต้น ปัจจุบันโหมโรงด้วยเพลงพัดชา จากนั้นมักบรรเลงเพลงลูกทุ่งเป็นพื้น 
           3.ออกลิงหัวค่ำ หรือ ออกลิงขาวลิงดำ เป็นขนบนิยมในการเล่นหนังตะลุงในสมัยก่อน ปัจจุบันเลิกไปแล้วเข้าใจว่าจะได้รับอิทธิพลจากหนังใหญ่ เพราะรูปที่ใช้เชิดส่วนใหญ่เป็นรูปจับ คือมีฤาษีอยู่กลาง ลิงขาวมัดลิงดำอยู่เบื้องล่าง แต่มีบ้างเหมือนกันที่แกะแยกเป็นรูปเดี่ยวๆ 3 รูปในกรณีที่แกะรูปแยกเป็น 3 รูปเช่นนี้มีวิธีเล่นคือ ขั้นแรกจะออกลิงขาวก่อน แล้วออกลิงดำสลับเสร็จแล้วออกพร้อมกันเอาหัวชนกัน เอาก้นชนกัน แล้วเข้าฟัดกัน ซึ่งตอนนี้ดนตรีจะทำเพลงเชิด จบแล้วมีบทพากย์ประกอบ ออกรูปพระอิศวร เพื่อบูชาพรอิศวรผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการบันเทิง ธรรมเนียมการออกรูปพระอิศวรจะเริ่มด้วยเชิดรูปให้ผ่านจอส่วนบนอย่างช้าๆ โดยให้เห็นเงาเพียงรางๆ อวดท่าเชิดให้เห็นความมีอำนาจของศิวเทพและความพยศของโคทรง แล้วปักรูปกลางจอ ร่ายมนตร์ไหว้เทพเจ้าและครูหนัง จบแล้วเชิดเข้าโรง สำหรับบทพากย์ร่ายมนตร์มีหลายสำนวน
           4.ออกรูปกาศ รูปกาศเป็นตัวแทนของนายหนังทำเป็นรูปชายหนุ่มถือดอกบัว วิธีเล่น จะร้องกลอนสั้นๆ เป็นทำนองไหว้พระก่อน เชิดรูปออกจอทำท่าสวัสดีผู้ชม เชิดรูปในท่าเดิน แล้วปักรูปในท่าสวัสดี จากนั้นร้องกลอนไหว้ครูสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และผู้ที่หนังเคารพนับถือ เป็นทำนองฝากเนื้อฝากตัวดัง พระศรีอริยเมตไตรยัง พระระวังเหนือเกล้าให้อยู่เฝ้าผม 
           5.ออกรูปบอกเรื่อง หนังส่วนใหญ่ใช้รูป อ้ายขวัญเมือง เป็นรูปบอกเรื่องถือเป็นตัวแทนของนายหนัง เช่นเดียวกับรูปกาศ การออกรูปบอกเรื่องจะให้รูปโผล่หัวขึ้นกลางจอ ยกมือไหว้ผู้ชม 3ครั้ง แล้วบอกเรื่องทั่วๆ ไปกับผู้ชม เช่น แนะนำคณะหนัง สาเหตุที่ได้มาเล่น ขอบคุณผู้ชม เป็นต้นตอนสุดท้ายจะบอกให้ผู้ชมทราบว่า ในคืนนี้หนังจะแสดงเรื่องอะไร ซึ่งประเด็นหลังนี้ถือเป็นหน้าที่หลักของการออกรูปบอกเรื่อง จากนั้นอวยพรแก่ผู้ชม แล้วเข้าโรง 
           6.เกี้ยวจอ เป็นการร้องกลอนสั้นก่อน ตั้งนามเมือง กลอนส่วนใหญ่จะเน้นให้เป็นคติสอนใจแก่ผู้ชมบางครั้งมีการชมธรรมชาติบ้าง หรือพรรณนาความในใจบ้างก่อนร้องกลอนนายหนังจะเอารูปเจ้าเมืองกับนางเมือง (กษัตริย์และพระมเหสี) ออกมาปักไว้หน้าจอ
           7.ตั้งนามเมือง เป็นการเปิดเรื่องหรือจับเรื่องโดยสมมุติขึ้นเป็นเมืองแห่งหนึ่งตามนิยายที่นำมาแสดง การตั้งนามเมือง นายหนังจะนำรูปเจ้าเมืองและมเหสีออกมาปักหน้าจอแล้วว่ากลอนบรรยายสภาพบ้านเมือง บอกนามเมืองและชื่อตัวละคร ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
            8.หลังจากตั้งนามเมืองแล้ว หนังตะลุงจะเล่นดำเนินเรื่องไปตามนิยายที่นำมาแสดง สำหรับเรื่องที่แสดง เดิมทีเล่นเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมาเล่นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งผูกขึ้นเองบ้างได้จากชาดกบ้างเช่น ลักษณวงศ์ โคบุตร หอยสังข์ พระรถเสน แก้วหน้าม้า โคคาวี (เสือโค) และนางแตงอ่อน เป็นต้น ต่อมาเมื่อภาพยนตร์และนวนิยายได้รับความนิยมจากชาวบ้าน หนังตะลุงก็หันมานิยมแสดงเรื่องแบบภาพยนตร์และนวนิยายด้วย
ลำดับขั้นตอนในการเล่นหนังตะลุงดังกล่าวมานี้ สมัยก่อนถ้าออกรูปฉะก็ไม่ต้องออกรูปพระอิศวร ถ้าออกรูปพระอิศวรก็ไม่ต้องออกรูปฉะ ส่วนปัจจุบันหนังตะลุงเลิกออกลิงหัวค่ำและเลิกออกรูปฉะ ส่วนขั้นตอนอื่นยังคงเดิมทุกประการ
การเล่นหนังตะลุงเพื่อความบันเทิงที่ถือว่าให้ความสนุกที่สุดก็คือตอนประชันที่เรียกกันในภาษาถิ่นใต้ว่า แข่งขันเพราะหนังทุกคณะที่เข้าประชันจะเล่นเพื่อเอาชนะจนสุดความสามารถ สมัยก่อนการแข่งขันหนังมักจะชิงจอ ชิงโหม่ง ชิงขันน้ำ พานรอง แต่ระยะหลังมีรางวัลแปลกๆ เช่น ฤาษีทองคำ พระพิฆเนศทองคำ พระอิศวรทองคำ อินทรีทองคำ และแหวนเพชร เป็นต้น
การเล่นแข่งหนังมีขนบนิยมเช่นเดียวกันกับที่กล่าวแล้วมีกติกาที่คู่แข่งขันต้องปฏิบัติ คือ เมื่อ ตีโพนลาแรก (เวลาประมาณ 20.30 นาฬิกา) หนังจะ
เริ่มลงโรง ตีโพนลาสองออกฤาษี ตีโพนลาสาม พักเที่ยงคืน ตีโพนลาสี่ แสดงต่อ ตีโพนลาห้า(เวลาประมาณ 0.5.00 นาฬิกา) กรรมการเริ่มการ เริ่มลงโรง ตีโพนลาสองออกฤาษี ตีโพนลาสาม พักเที่ยงคืน ตีโพนลาสี่ แสดงต่อ ตีโพนลาห้า(เวลาประมาณ 05.00 นาฬิกา) กรรมการเริ่มการตัดสินในตอนนี้หนังตะลุงจะปล่อยทีเด็ดเพื่อเรียกคนดูให้ได้มากที่สุดเรียกว่า ชะโรง หนังตะลุงคณะใดคนดูมากที่สุดเป็นผู้ชนะเลิศ

ขนบนิยมในการเล่นเพื่อประกอบพิธีกรรม

พิธีแก้บน
        เป็นการเล่นเพื่อบวงสรวงครูหมอหนังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามพันธะที่บนบานไว้ หนังที่จะทำพิธีนี้ได้ต้องรอบรู้ในพิธีกรรมและที่สำคัญต้องผ่านพิธีครอบมือมาแล้ว มิเช่นนั้นพันธะสัญญาจะไม่ขาดกัน เรียกว่า ไม่ขาดเห.ม.รย ขนบนิยมในการเล่นทั่วๆ ไปเป็นแบบเดียวกับการเล่นเพื่อความบันเทิง แต่ตอนเบิกโรงต้องใช้หมากพลู 9 คำ เทียน 9 เล่ม บางคณะอาจเพิ่มดอกไม้ ข้าวสาร และด้ายดิบด้วย
        ในการแก้บน เจ้าภาพต้องเตรียมของแก้บนเอาไว้ให้ครบถ้วนตามที่บนบานไว้ เมื่อหนังโหมโรง ก็ยกมาจัดวางไว้ข้างโรงหนัง ฝ่ายหนังเล่นไปเหมือนกันกับเล่นเพื่อให้ความบันเทิง คือ โหมโรงแล้วออกฤาษี ออกรูปฉะหรือไม่ก็ออกรูปพระอิศวร พอออกรูปกาศก็เริ่มพิธีแก้บน โดยร้องกลอนชุมนุมเทวดา เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มาสู่มณฑลพิธี ขณะที่หนังร้องเชิญสิ่งที่บนบานไว้นั้น ทางฝ่ายเจ้าภาพซึ่งเป็นผู้บนบานก็จุดเทียนเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มารับ
        เครื่องสังเวยตามที่บนบานไว้ เช่น ถ้าบนบานว่าจะยิงปืนถวายก็ยิงขึ้นในตอนนั้นเสร็จแล้วนายหนังจะผูกเรื่องมาเล่นถวายแก้บน เรื่องที่ใช้เล่นต้องใช้เรื่องรามเกียรติ์ โดยจับเพียงตอนใดตอนหนึ่งพอเป็นเคล็ดว่า ตัดเห.ม.รย ได้มาเล่นอย่างสั้นๆ เช่น ตอนเจ้าบุตรเจ้าลพ ตอนจองถนน ตอนหนุมานพบพระราม ตอนทศกัณฐ์ล้ม เป็นต้น นอกจากนี้อาจเล่นแบบออกลิงหัวค่ำก็ได้ จบแล้วนายหนังจะเอารูปฤาษี เจ้าเมือง พระ นาง พระอินทร์ ฯลฯ ปักชุมนุมกันที่หน้าจอเป็นทำนองว่าได้ร่วมรู้เห็นเป็นพยานว่าเจ้าภาพได้แก้บนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้พันธะสัญญาขาดกันแต่บัดนี้ แล้วนายหนังจุดเทียน จับเทียนรวมกับมีดครูและไม้ผูกมือรูปทุกตัว ใช้มีดตัดต่อเห.ม.รย (เป็นห่อกระดาษที่เขียนคำบนบานและเครื่องบูชาตอนบนบานเอาไว้) ขว้างออกนอกโรง เป็นเสร็จพิธี จากนั้นหนังจะแสดงให้เห็นความบันเทิงแก่ชาวบ้านต่อไป

ที่มา:  http://www.baanjomyut.com/library_2/shadow_play/05.html  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น