วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นหนังตะลุง



ายหนัง
เป็นคำเรียกบุคคลผู้ทำหน้าที่แสดงหนังตะลุงคณะหนึ่งๆ จะมีนายหนัง 2 คน ทำหน้าที่พากย์และเชิดรูปพระ รูปนางคนหนึ่ง พากย์ เชิดยักษ์ ตัวตลกและเชิดตัวเบ็ดเตล็ดอีกคนหนึ่ง เรียกนายหนังทั้งสองว่า "หัวหยวก ปลายหยวก" เล่ากันมาว่า หลังจากหนังบัวแห่งเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหนังสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เริ่มแสดงโดยบทบาททั้งพากย์และเชิดคนเดียว และหนังอื่นๆ เอาอย่างสืบมาแล้ว หนังคณะหนึ่งๆ ก็คงมีนายหนังเพียงคนเดียวเป็นทั้งคนพากย์ คนเชิด ผู้ประพันธ์เรื่อง และเป็นหัวหน้าคณะบริหารงานทั้งหมด จากภาระดังกล่าว นายหนังจึงต้องเป็นคนเก่ง มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ
เครื่องดนตรี
หนังตะลุงคณะหนึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบการเล่นประมาณ 6 อย่าง คือ       
    1. กลอง 1 ลูก (เป็นกลองขนาดเล็ก มีหนังหุ้มสองข้าง หน้ากลองเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างประมาณ 8 -10 นิ้ว หัว-ท้ายเล็กกว่าตรงกลางเล็กน้อย กลองมีความยาวประมาณ10-20 นิ้ว ใช้ไม้ตี 2 อัน)
   2 .ทับ 2 ลูก (1 คู่) ในสมัยก่อนดนตรีหลักมีทับ 1 คู่สำหรับคุมจังหวะและเดินทำนอง (ทับ ทำด้วยไม้กลึงและเจาะข้างใน ลักษณะคล้ายกลองยาวแต่ส่วนท้ายสั้นกว่าและขนาดย่อมกว่า หุ้มด้วยหนังบางๆ เช่น หนังค่าง) ทับทั้ง 2 ลูกนี้มีขนาดต่างกันเล็กน้อยเพื่อให้ได้เสียงต่างกัน และสมัยก่อนมีขนาดโตกว่าปัจจุบัน
  3.ฉิ่ง 1 คู่ 
  4. โหม่ง 1 คู่ เสียงสูงลูกหนึ่ง ใช้สำหรับประกอบเสียงขับกลอน (โหม่งทั้งคู่ แขวนตรึงขนานกันอยู่ในรางไม้ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวโหม่งทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดง ถ้าหล่อกลมแบบฆ้องขนาดฆ้องวงเรียกว่า "โหม่งหล่อ" ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วดุนให้ส่วนที่จะตีสูงกลมขึ้นกลางแผ่นเรียกว่า โหม่งฟาก) 
  5. ปี่ 1 เลา 
 6. กรับ หรือ แกระ 1 คู่ (ใช้เคาะรางกับโหม่ง) สำหรับประกอบจังหวะ          
   บางคณะอาจจะมีซออีก 1 สาย เป็นซอด้วงมากกว่าซออู้ เพราะเสียงเข้ากับเสี่ยงปี่ได้
   การบรรเลงดนตรี นอกจากโหมโรง (ชาวใต้เรียกว่าลงโรง) แล้วก็บรรเลงสลับไปตลอดการแสดง มักบรรเลงตอนขับกลอน ตอนเจรจาจะหยุดบรรเลง (อาจจะตีเครื่องให้จังหวะประกอบบ้าง)         
    เพลงที่ใช้บรรเลง คือ เพลงโหมโรงใช้เพลงทับ ตอนดำเนินเรื่องใช้เพลงทับบ้าง เพลงปี่บ้าง (เพลงทับคือเพลงที่ถือเอาจังหวะทับเป็นเอก เพลงปี่คือเพลงที่ใช้ปี่เดินทำนองเพลงซึ่งโดยมากใช้เพลงไทยเดิม แต่ปัจจุบันใช้เพลงไทยสากลและเพลงสากลก็มี          
   ปัจจุบันหนังตะลุงนิยมนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาประสม เช่น บางคณะใช้กลองดนตรีสากล ไวโอลิน กีตาร์ ออร์แกน แทนเครื่องดนตรีเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายยิ่ง  
โรงและอุปกรณ์ประกอบโรง
โรงหนังตะลุง ต้องยกเสา 4 เสา (ใช้ไม้ค้ำเพิ่มจากเสาได้) ขนาดโรงประมาณ 2.3 X 3 เมตร พื้นยกสูงเลยศีรษะผู้ใหญ่เล็กน้อย และให้ลาดต่ำไปข้างหน้านิดหน่อย หลังคาเป็นแบบเพิงหมาแหงน กั้นด้านข้างและด้านหลังอย่างหยาบๆ ด้านหลังทำช่องประตูพาดบันไดขึ้นโรง ด้านหน้าใช้ผ้าขาวบางขึงเป็นจอ จอกว้างและยาวประมาณ 5 x 10 ฟุต ในโรงมีตะเกียงน้ำมันไขสัตว์หรือตะเกียงน้ำมันมะพร้าว หรือตะเกียงเจ้าพายุหรือดวงไฟแขวนไว้ใกล้จอสูงจากพื้นราว 1 ฟุตเศษและห่างจากจอราว 1 ศอก นอกจากนี้ยังมีต้นกล้วยวางไว้ข้างฝาทั้งสองข้างของโรง เพื่อไว้ปักพักรูปหนัง ประเภทรูปเบ็ดเตล็ด ส่วนบนเพดานโรงจะมีเชือกขึงไว้สำหรับแขวนรูปหนังประเภทรูปที่สำคัญซึ่งมีรูปพระ รูปนาง เป็นต้น 
  รูปหนังตะลุง  
หนังตะลุงคณะหนึ่งๆ มีรูปหนังประมาณ 150 - 200 ตัว รูปหนังตะลุงที่ทุกคณะจะต้องมีได้แก่ ฤาษี พระอิศวร ปรายหน้าบท เจ้าเมือง พระ นาง ตัวตลก เทวดา รูปเหล่านี้จะมีหน้าตาทำนองเดียวกันทุกคณะ โดยเฉพาะตัวตลกแทบไม่มีอะไรผิดเพี้ยนกันเลย นอกจากรูปดังกล่าวแล้ว แต่ละคณะจะตัดรูปเบ็ดเตล็ดส่วนหนึ่ง เช่น สัตว์ต่างๆ ต้นไม้ ภูเขา ภูตผี ยานพาหนะ อาวุธ เป็นต้น


ตัวละครในหนังตะลุง






       "รูปหนังตะลุง" เป็นรูปเครื่องหนังที่มีเอกลักษณ์พิเศษของคนไทย สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ในศิลปะการแสดงหนังตะลุงของภาคใต้ ที่ใช้รูปเงาในการสื่อสารสร้างสาระและความบันเทิงให้คนดูที่อยู่หน้าจอได้รับความรู้และความเพลิดเพลินตลอดคืน วัสดุที่ทำมาใช้ทำรูปส่วนมากคือหนังวัว ปัจจุบันรูปหนังตะลุงเหล่านี้มิเพียงแต่ใช้ในการแสดงอย่างเดียว แต่ยังกลายเป็นของที่ระลึกยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวมาเยือน
รูปหนังตะลุงแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
         1. รูปก่อนเรื่อง เป็นรูปเหมือนจริง คือรูปฤาษี รูปพระอิศวรทรงโค รูปปรายหน้าบท (รูปมนุษย์ผู้ชายแทนตัวนายหนัง) และรูปบอกเรื่องซึ่งจะเป็นตัวตลกตัวใดตัวหนึ่ง  
        2. รูปมนุษย์ (รูปนุด) เป็นรูปพระ รูปนาง รูปเจ้าเมือง รูปมเหสี พระโอรส ธิดานิยมแกะให้เหมือนตัวจริงที่สุด แล้วลงสีสันอย่างสวยงาม เพื่อดึงดูดใจผู้ชมหน้าจอ
        3. รูปยักษ์เป็นตัวแทนฝ่ายอธรรม การแต่งกายของยักษ์มักเหมือนกันทุกคณะ คือ มีอาวุธ หรือ กระบองประจำตัว รูปเหล่านี้มีอยู่ทุกแผง
       4. รูปกาก เป็นรูปตัวตลก รูปทาสาและทาสีซึ่งไม่มียศศักดิ์สำคัญ แต่รูปกากบางตัวถือว่าเป็นตัวสำคัญที่สร้างชื่อเสียง ให้
 หนังตะลุง บางครั้งจัดให้เป็นรูปสีดำ หรือสีดั้งเดิมของหนังที่นำมาแกะสลัก และไม่ค่อยมีลวดลาย
        5. รูปเบ็ดเตล็ด ได้แก่ รูปผี รูปต้นไม้ ภูเขา ยานพาหนะ เป็นต้น บางคณะอาจจะพลิกแพลงออกไปตามสมัยนิยมได้   
 เช่น รูปรถถัง รูปเครื่องบิน เป็นต้น
               รูปหนังตะลุงส่วนใหญ่แกะตายตัว อวัยวะต่างๆ เคลื่อนไหวไม่ได้ ยกเว้นมือด้านหน้ายกเว้นตัวตลก กล่าวคือ
 รูปตัวตลกเคลื่อนไหวได้ทั้งสองมือ และเท้าอาจเคลื่อนไหวด้วยก็ได้
        



การแข่งขันประชันโรง





     การประชันโรงของหนังตะลุง เป็นที่ชื่นชอบของชาวปักษ์ใต้มาเป็นเวลานานปี การประชันโรงมีตั้งแต่ 2โรงขึ้นไป ถึง 10 โรง เลือกเอาเฉพาะหนังที่มีชื่อเสียงมีความสามรถในระดับเดียวกัน ถ้าเปรียบกับภาษามวยเรียกว่าถูกคู่ ในงานเทศกาลสำคัญๆ จะมีการแข่งขันประชันโรง  โรงที่มีคนดูน้อยก็จะถูกคัดออกจะมีการประชันติดต่อกันหลายคืน คืนสุดท้ายจะเป็นการประชันชิงชนะเลิศ ของรางวัลจะเป็นเงินสดและรางวัลเกียรติยศต่างๆ  สมัยก่อนหนังตะลุงจะประชันกันในวัด เพราะเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีเพียง 2 โรงเท่านั้น มีการทำหนังสือสัญญา 3 ฉบับ เมื่อนายหนังผิดสัญญาจะต้องเสียค่าปรับ และจะต้องเคร่งครัดต่อกติกา    ดังต่อไปนี้
  1.นายหนังจะต้องมาถึงสถานที่แข่งขันก่อนค่ำ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  2.ต้องจับฉลากขึ้นโรงว่าได้สถานที่ตรงไหน ( จะเลือกที่โรงเอาเองตามใจชอบไม่ได้ )
  3.มาตกลงข้อสัญญา และเทียบเวลากับนาฬิกาของกองกลางเพื่อให้เวลาตรงกัน
  4. 1 ทุ่มตรง ลงโรง หรือโหมโรง ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 1
  5. 2 ทุ่มตรง ออกฤาษี ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 2
  6. เที่ยงคืน หยุดพัก 1 ชั่วโมง ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 3
  7.เวลา 1 นาฬิกาตรง แสดงต่อ ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 4
  8.เวลา 5 นาฬิกาตรง ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 4 เพื่อบอกให้นายหนังรูตัวว่ายังเหลือเวลาเพียงชั่วโมงเดียวก็จะถึงเวลาเลิก      แสดง ใครมีทีเด็ดอะไร ก็นำออกมาแสดงให้หมด ตอนนี้จะเรียกว่าชะโรงเพื่อให้คนจากอีกโรงหนึ่ง มาอยู่หน้าโรงของตน แม้ว่าแพ้มาตลอดคืน แต่เมื่อถึงตอนนี้ถ้าหากมีคนดูเยอะ ก็สามารถชนะได้ เพราะการแข่งขันประชันโรง
  9.เวลา 6 นาฬิกาตรง ตะโพนย่ำให้สัญญาณเป็นครั้งสุดท้ายเลิกการแสดงได้
 10.ผู้จัดการแข่งขันต้องเลี้ยงอาหารมื้อเย็น และจัดอาหารไว้ตอนหนังหยุดพัก อาหารต้องปราศจากยาพิษ ที่ฝ่ายตรงกันข้ามอาจลอบใส่ลงได้ ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นผู้จัดการแข่งขันจะต้องรับผิดชอบ
 11.ต้องจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรยาม ใต้ถุนโรงตลอดเวลา
 12.ให้ค่าราดโรงครบตามสัญญา


ที่มา:http://dusithost.dusit.ac.th/~u52116940037/nhungtalung/compete.html

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง

   

   
       หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาคใต้มาแต่โบราณ และสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้ หนังตะลุงเป็นมหรสพทีได้รับการนิยมจากผู้ดูอย่างกว้างขวาง การแสดงหนังตะลุงเป็นการแสดงความสามารถที่ถือเป็นอัจฉริยะส่วนตัวของนายหนังตะลุงผนวกกับการฝึกฝนจนมีความชำนาญ จึงจะสามารถแสดงหนังตะลุงให้ประทับใจผู้ชมได้ หนังตะลุงมิได้ให้แต่ความบันเทิงแก่ผู้ชมเท่านั้น ยังได้สอดแทรกคติธรรม จริยธรรม การศึกษา ฯ ลฯ แก่ผู้ชมอีกด้วย
      ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงนั้น มีความเชื่อกันว่า เผยแพร่มาจากชวา(อินโดนีเซีย) มายังมาเลเซีย แล้วคนไทยทางภาคใต้ไปได้แบบอย่างมาอีกทีหนึ่งจากเมืองยะโฮร์ มาฝึกหัดเล่นในเมืองไทย โดยเฉพาะครั้งแรกที่จังหวัดพัทลุง ที่เรียกว่าหนังตะลุงนั้น คำว่าหนัง ก็คือ เอาหนังวัว หนังควาย มาตัดฉลุเป็นรูป ส่วนคำว่าตะลุงก็คงมาจากคำว่าพัทลุงนั่นเอง เคยมีคำนิยมเรียกหนังตะลุงว่า "หนังควน " เพราะเกิดขึ้นที่บ้านควนมะพร้าว เป็นแห่งแรกนอกจากนี้ยังมีข้ออ้างอิงอื่น ๆ ซึ่งยืนยันว่าได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่พัทลุง
ที่มา:https://sites.google.com/site/hnangtalungphunbanrea/prawati-khwam-pen-ma