วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

การแข่งขันประชันโรง





     การประชันโรงของหนังตะลุง เป็นที่ชื่นชอบของชาวปักษ์ใต้มาเป็นเวลานานปี การประชันโรงมีตั้งแต่ 2โรงขึ้นไป ถึง 10 โรง เลือกเอาเฉพาะหนังที่มีชื่อเสียงมีความสามรถในระดับเดียวกัน ถ้าเปรียบกับภาษามวยเรียกว่าถูกคู่ ในงานเทศกาลสำคัญๆ จะมีการแข่งขันประชันโรง  โรงที่มีคนดูน้อยก็จะถูกคัดออกจะมีการประชันติดต่อกันหลายคืน คืนสุดท้ายจะเป็นการประชันชิงชนะเลิศ ของรางวัลจะเป็นเงินสดและรางวัลเกียรติยศต่างๆ  สมัยก่อนหนังตะลุงจะประชันกันในวัด เพราะเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีเพียง 2 โรงเท่านั้น มีการทำหนังสือสัญญา 3 ฉบับ เมื่อนายหนังผิดสัญญาจะต้องเสียค่าปรับ และจะต้องเคร่งครัดต่อกติกา    ดังต่อไปนี้
  1.นายหนังจะต้องมาถึงสถานที่แข่งขันก่อนค่ำ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  2.ต้องจับฉลากขึ้นโรงว่าได้สถานที่ตรงไหน ( จะเลือกที่โรงเอาเองตามใจชอบไม่ได้ )
  3.มาตกลงข้อสัญญา และเทียบเวลากับนาฬิกาของกองกลางเพื่อให้เวลาตรงกัน
  4. 1 ทุ่มตรง ลงโรง หรือโหมโรง ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 1
  5. 2 ทุ่มตรง ออกฤาษี ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 2
  6. เที่ยงคืน หยุดพัก 1 ชั่วโมง ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 3
  7.เวลา 1 นาฬิกาตรง แสดงต่อ ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 4
  8.เวลา 5 นาฬิกาตรง ใช้สัญญาณย่ำตะโพนเป็นครั้งที่ 4 เพื่อบอกให้นายหนังรูตัวว่ายังเหลือเวลาเพียงชั่วโมงเดียวก็จะถึงเวลาเลิก      แสดง ใครมีทีเด็ดอะไร ก็นำออกมาแสดงให้หมด ตอนนี้จะเรียกว่าชะโรงเพื่อให้คนจากอีกโรงหนึ่ง มาอยู่หน้าโรงของตน แม้ว่าแพ้มาตลอดคืน แต่เมื่อถึงตอนนี้ถ้าหากมีคนดูเยอะ ก็สามารถชนะได้ เพราะการแข่งขันประชันโรง
  9.เวลา 6 นาฬิกาตรง ตะโพนย่ำให้สัญญาณเป็นครั้งสุดท้ายเลิกการแสดงได้
 10.ผู้จัดการแข่งขันต้องเลี้ยงอาหารมื้อเย็น และจัดอาหารไว้ตอนหนังหยุดพัก อาหารต้องปราศจากยาพิษ ที่ฝ่ายตรงกันข้ามอาจลอบใส่ลงได้ ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นผู้จัดการแข่งขันจะต้องรับผิดชอบ
 11.ต้องจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรยาม ใต้ถุนโรงตลอดเวลา
 12.ให้ค่าราดโรงครบตามสัญญา


ที่มา:http://dusithost.dusit.ac.th/~u52116940037/nhungtalung/compete.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น